หนังสือพระราชนิพนธ์
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี



พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2528

กลับไปหน้าที่แล้ว

บุหงารำไป


เป็นหนังสือพระราชนิพนธ์ประกอบนิทรรศการเรื่องศิลปะอินโดนีเซีย ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน - ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๘  กรมศิลปากรจัดขึ้นเนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ ๓๐ พระชันษา

หนังสือพระราชนิพนธ์เล่มนี้เป็นส่วนขยายของหนังสือพระราชนิพนธ์ชุดเสด็จฯ เยือนต่างประเทศเรื่อง ชมช่อมาลตี ซึ่งทรงบันทึกเรื่องราวการเดินทางคราวเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซียในปี ๒๕๒๗   บุหงารำไปประกอบด้วยเนื้อหาและรูปเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย รวมทั้งพระฉายาลักษณ์และของที่ระลึกที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย

ตัวอย่างบางส่วนจาก “ดนตรีอินโดนีเซีย” 

“…ปี่พาทย์ชวานี้เรียกว่า กาเมลัน (Gamelan) ประกอบด้วยเครื่องบรรเลงที่มีลักษณะไม่แตกต่างกับปี่พาทย์ของไทยเท่าใด ต่างกันแต่ว่าปี่พาทย์ชวาใช้สิ่งที่ทำด้วยโลหะมาก เสียงจึงมีกังวานกระหึ่มครึมครางไปตามแบบอย่างอันเหมาะสมกับสำเนียงเพลงชวา ที่ผิดกันมากก็คือระดับเสียง ปี่พาทย์ชวานั้นมีเสียงพื้นโดยทั่วไปอยู่เพียง ๕ เสียงเท่านั้น คือ ทุกๆ ช่วงคู่ ๘ จะมีแต่เสียงที่ ๑, ๒, ๓ และ ๕, ๖ ไม่มีเสียงที่ ๔ และ ๗ แม้เพลงของชวาเอง หากจะต้องบรรเลงเพลงที่เกิน ๕ เสียงนี้แล้ว เขามีเครื่องดนตรีอีกชิ้นหนึ่งซึ่งเทียบเสียงแตกต่างออกไปเป็นผู้เติมเสียงให้ ดังนั้น ปี่พาทย์ชวาจึงไม่เหมาะสมที่จะใช้บรรเลงเพลงได้โดยทั่วไปเหมือนอย่างของชาติอื่นๆ…"