บทกวีและบทเพลงพระราชนิพนธ์
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดการเขียนบทกลอนตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ บทกลอนเหล่านี้ ได้แก่ รัก แลจันทร์ ชายทะเลพัทยา และกลางพนา เป็นต้น ซึ่งในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานทำนองสำหรับเพลง "รัก" และครูดนตรีได้ร่วมกันแต่งทำนองถวาย เป็นบทเพลงไทยสากลหลายบทเพลงด้วยกัน นอกจากนี้แล้ว ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องสำหรับเพลงไทยเดิมด้วย เช่น บทร้องสำหรับเพลงเต่าเห่ เพลงปลาทองเถา และ เพลงตับชมสวนขวัญ เป็นต้น |
บทกวีและบทเพลง | คำร้อง | ทำนอง | รายละเอียด | |
---|---|---|---|---|
เต่าเห่ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลง เต่าเห่ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง สำหรับเพลงไทยเดิม "เต่าเห่" ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ | |
กลางพนา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราช-นิพนธ์บทกวีชื่อ "กลางพนา" เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ | ||
ขึ้นพลับพลา - แขกบรเทศ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงขึ้นพลับพลา และเพลงแขกบรเทศ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ | |
ความฝัน | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทกวี ชื่อ "ความฝัน" เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ | |
คืนวันเพ็ญ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทกวี ชื่อ "คืนวันเพ็ญ" เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ | |
จีนเด็ดดอกไม้ เถา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงจีนเด็ดดอกไม้ เถา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องสำหรับเพลงนี้ ในพุทธศักราช ๒๕๓๓ สำหรับทำนอง เป็นเพลงเก่าของวังบางขุนพรหม | |
ชมทะเล | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราช-นิพนธ์บทกวี ชื่อ "ชมทะเล" เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ | |
ชายทะเลพัทยา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราช-นิพนธ์บทกวี ชื่อ "ชายทะเลพัทยา" เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ | |
ชื่นชุมนุมกลุ่มดนตรี | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | นายมนตรี ตราโมท | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องสำหรับเพลงนี้ ในพุทธศักราช ๒๕๒๘ | |
ดอกบัว | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราช-นิพนธ์บทกวี ชื่อ "ดอกบัว" เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ | |
แดร๊กคูล่า | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | นายประสิทธิ์ ชำนาญไพร | ||
ตับ ชมสวนขวัญ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงเทวาประสิทธิ์ ดอกไม้ไทร ดอกไม้ไพร ดอกไม้ร่วง ไทรหวน มาลีหวน คลื่นกระทบฝั่ง | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องสำหรับเพลงนี้ ในพุทธศักราช ๒๕๒๘ | |
เต่ากินผักบุ้ง | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลง เต่ากินผักบุ้ง | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแต่งบทร้องเพลง เต่ากินผักบุ้ง ซึ่งเป็นเพลงลาส่งท้ายในการบรรเลง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ ขณะทรงศึกษาอยู่ ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
ทะเลหนาว | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | นายสง่า อารัมภีร | ||
ไทยดำเนินดอย | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงลาวดำเนินทราย | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องสำหรับเพลงนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ | |
นกกระจอกทอง - น้ำลอดใต้ทราย - ตะบองกัน | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงนกกระจอกทอง เพลงน้ำลอดใต้ทราย และเพลงตะบองกัน | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ | |
นกขมิ้น | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เนรัญชรา | ||
บทกวีสวนหลวง | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ "บทกวีสวนหลวง" และทรงนำอ่านบทกวี ในงาน "สวนหลวงทิพย์กวี" อันเป็นส่วนหนึ่งของงาน "พรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง ร. ๙" วันที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุญาตให้คณะผู้จัดทำ หนังสือ "สวนหลวงทิพย์กวี เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ" อัญเชิญ "บทกวีสวนหลวง" ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือดังกล่าว และได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ นาวาเอกสุรธัช บุนนาค จัดทำพระราชนิพนธ์ "บทกวีสวนหลวง" เป็นภาคภาษาอังกฤษ โดยใช้ชื่อว่า "A Poetry in the Royal Garden" หนังสือ "สวนหลวงทิพย์กวี เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ" รวบรวมบทกวีทั้งของไทยและชาติต่างๆ ที่จัดกิจกรรมอ่านบทกวี ในงาน "สวนหลวงทิพย์กวี" ณ สวนหลวง ร. ๙ จัดพิมพ์โดย คณะผู้จัดทำหนังสือสวนหลวงทิพย์กวี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการอำนวยการจัดงานสวนหลวงทิพย์กวี ที่มี ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ " พิมพ์ครั้งที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓ | |||
บิดา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทกวี "บิดา" ในพุทธศักราช ๒๕๑๐ บทกวีพระราชนิพนธ์ "บิดา" พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือต่างๆ ได้แก่
| |||
ปลาทอง เถา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงปลาทอง เถา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์บทร้องสำหรับเพลงนี้ ในพุทธศักราช ๒๕๒๐ | |
ปิตุเรศมารดร | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | นายสง่า อารัมภีร | ||
ไปไกล | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี - คลื่นกระทบฝั่ง | นายประยูร เวชชประสิทธิ์ | ||
พระราชาเป็นประมุขของประชาชน | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราช-นิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ | |
พระอาทิตย์ชิงดวง | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ | |
พัดชา - นางนาค - ขึ้นพลับพลา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงพัดชา - นางนาค - ขึ้นพลับพลา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๘ | |
ฟังเพลงกวี | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | พร พิรุณ | ||
เมนูไข่ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระราชนิพนธ์โคลงสี่สุภาพที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารที่ทำจากไข่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทำนองเพลง "เมนูไข่" ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ | |
ไม่ลืม | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี - คลื่นกระทบฝั่ง | นายพนม เพชรสงคราม | ||
ยามจาก | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทกวี ชื่อ "ยามจาก" ในพุทธศักราช ๒๕๑๐ | |
รัก | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๐ พรรษา ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทำนองสำหรับเพลง "รัก" ใน พ.ศ. ๒๕๓๗ | |
รักร้าง | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | นายนคร ถนอมทรัพย์ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราช-นิพนธ์บทกวี ชื่อ "รักร้าง" เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ | |
ลมพัดชายเขา - กล่อมนารี - สร้อยเพลง | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงลมพัดชายเขา ๒ ชั้น เพลงกล่อมนารี ๒ ชั้น และเพลงสร้อยเพลง ๒ ชั้น | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ | |
ลอยกระทง | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราช-นิพนธ์บทกวีชื่อ "ลอยกระทง" เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ | |
เลอ ปา เดอ มง แปร์ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทกวีภาษาฝรั่งเศส "Le pas de mon père" (อ่านว่า "เลอ ปา เดอ มง แปร์" หมายถึง รอยเท้าของพ่อ) เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๙ | |||
แลจันทร์ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทกวี ชื่อ "แลจันทร์" เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ | |
โลกปัจจุบัน | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | นายนคร ถนอมทรัพย์ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์ฉันท์ วิชชุมมาลา ๘ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๕๓๗ สมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทยได้จัดทำเทปเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ชุดมณีพลอยร้อยแสง ได้อัญเชิญฉันท์บทนี้มาประพันธ์ทำนอง และเป็นเพลงหนึ่งในเทปชุดนี้ | |
วิหคเหินเถา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงวิหคเหินเถา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ | |
ส้มตำ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์เพลง "ส้มตำ" ซึ่งเป็นเพลงไทยลูกทุ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ | |
สมิงทอง - จำปานารี - ลมพัดชายเขาเถา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงสมิงทอง ๒ ชั้น เพลงจำปานารี ๒ ชั้น และเพลงลมพัดชายเขาเถา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ | |
เสียดาย | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๕๓๔ สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำเทปเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้อัญเชิญบทกลอนนี้ไปเป็นเพลงหนึ่งในเทปชุดนี้ | |
หนาว | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี - คลื่นกระทบฝั่ง | นายสมาน กาญจนผลิน | ||
หวนคิด | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี - คลื่นกระทบฝั่ง | นาวาอากาศเอกสมชาย ขาวสำอางค์ | ||
อกทะเล | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงอกทะเล | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ | |
อนงค์สุชาดาเถา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงอนงค์สุชาดา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ | |
อาทร | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เนรัญชรา | ||
อาศิรวาทราชสดุดี | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงชมดงกลาง เพลงลีลากระทุ่ม เพลงสะสม | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ | |
ไอยราชูงวงเถา | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | เพลงไทยเดิม เพลงไอยราชูงวง ๓ ชั้น | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ | |
ฮิบู | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์บทกวีภาษาฝรั่งเศส "Hibou" (อ่านว่า "ฮิบู" หมายถึง นกฮูก) เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๗ |