หนังสือพระราชนิพนธ์
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี



พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2540

กลับไปหน้าที่แล้ว

บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์


เมื่อครั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงศึกษาอยู่ชั้นปีที่ ๑ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการเมืองการปกครอง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช   หนังสือเล่มนี้เป็นพระราชนิพนธ์ที่ทรงเรียบเรียงเนื้อหาจากคำสอนในเรื่องดังกล่าว

เนื้อความบางส่วนจาก “การปกครองในแต่ละหัวเมือง” 

“…ในเมืองต่างๆ มักจะมีชาวต่างประเทศมาอยู่ในพระนครศรีอยุธยา กำหนดให้อยู่ในเขตพระนครเท่านั้น ภายหลังกำหนดเขตให้เป็นที่อยู่เฉพาะบางส่วนในพระนคร ผู้ปกครองใช้คนเชื้อชาติศาสนาเดียวกันเรียกว่านายอำเภอ มีตำแหน่งคล้ายกงศุลและขึ้นกับกรมท่า

ในบางกรณีมีชาวต่างประเทศเดินทางไปค้าขายตามหัวเมืองทางราชการจะต้องระวัง เพราะกลัวจะเป็นสายของข้าศึก เดินทางไปทำแผนที่ดูลาดเลาดูเรื่องเสบียงอาหาร ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ จะไม่อนุญาต ถ้าอนุญาตจะช่วยเหลือโดยออกค่าเดินทางจากเสนาบดีในกรุงไปถึงเจ้าเมืองที่จะผ่าน บอกถึงกิจธุระและให้เจ้าเมืองอนุเคราะห์ หมายความทางราชการไว้ใจและเห็นประโยชน์จากการเดินทางนั้น ถ้าชาวต่างชาติไปหัวเมืองใดโดยไม่มีหนังสือ ให้เจ้าเมืองจับส่งเข้ากรุง

ทั้งหมดนี้แสดงว่าคนไทยสมัยก่อน เห็นความสำคัญในการรักษาความลับของประเทศมาก…"